1. ยื่นแบบประจำเดือน ประกอบด้วย

  • ให้คำแนะนำการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม - VAT เพื่อให้สอดคล้องกับสรรพากร
  • จัดทำและยื่นภาษีเงินได้พนักงานหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1)
  • จัดทำและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.3)
  • จัดทำและยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.53)
  • จัดทำและยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม - VAT (ภพ.30)
  • จัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขายประจำเดือน
  • จัดทำและยื่นเงินสมทบประกันสังคมประจำเดือน
  • ให้คำปรึกษาปัญหาภาษีตลอดปีโดยไม่คิดค่าบริการเพิ่มเติม

2. ยื่นแบบประจำปี ประกอบด้วย

  • จัดทำและยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี (ภงด.51) และภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภงด.50)
  • จัดทำและยื่นแบบนำส่งงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ (สบช.3)
  • จัดทำและยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายพนักงานประจำปี (ภงด.1ก)

3. ปิดบัญชีประจำเดือน ประกอบด้วย

  • ให้คำแนะนำวิธีการบัญชีเพื่อผลด้านภาษีอากรที่ดีและถูกต้อง
  • ให้คำแนะนำระบบบัญชี ผังทางเดินเอกสาร รวมถึงเอกสารเบื้องต้นที่จำเป็นในการบันทึกบัญชี
  • บันทึกรายการค้าประจำเดือน จัดทำสมุดบัญชีซื้อ, สมุดบัญชีขาย, สมุดบัญชีรับเงิน, สมุดบัญชีจ่ายเงิน, สมุดบัญชีจ่ายเงินสดย่อย, สมุดรายวันทั่วไป และบัญชีแยกประเภท
  • จัดทำงบทดลองและงบการเงิน
  • จัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร
  • จัดทำทะเบียนสินทรัพย์
  • จัดทำรายละเอียดประกอบบัญชีที่สำคัญเช่นรายละเอียดลูกหนี้, รายละเอียดเจ้าหนี้ เป็นต้น
  • ลงทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี
  • ให้คำปรึกษาปัญหาบัญชีตลอดปีโดยไม่คิดค่าบริการเพิ่มเติม

บริษัทฯ เป็นผู้บันทึกรายการบัญชีตามเอกสารหลักฐานข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ท่านส่งมอบให้
โดยการบันทึกรายการบัญชีจะปฏิบัติเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ดังนี้

  • บันทึกรายการบัญชีตามเอกสารหลักฐาน – รายการค้า ประจำเดือน
  • จัดทำสมุดบัญชีขาย
  • จัดทำสมุดบัญชีซื้อ
  • จัดทำสมุดบัญชีรับเงิน
  • จัดทำสมุดบัญชีจ่ายเงิน
  • จัดทำสมุดบัญชีรายวันทั่วไป
  • จัดทำสมุดบัญชีแยกประเภท
  • จัดทำงบทดลอง และรายงานงบการเงิน
  • จัดทำทะเบียนสินทรัพย์ถาวร
  • จัดทำรายละเอียดประกอบงบการเงิน เช่น รายละเอียดลูกหนี้ , รายละเอียดเจ้าหนี้ เป็นต้น
  • จัดเตรียมข้อมูล เพื่อมอบให้ผู้ตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบ

  • ภาษีหักณที่จ่าย เช่น ภ.ง.ด. 1,2,3,53,ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.2ก,ภ.ง.ด.3ก
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ภ.พ.30, ภ.พ. 36
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น ภ.ง.ด.50,51,52,54,55
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.ธ.40
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น ภ.ง.ด. 90,91,93,94,95
  • อากรแสตมป์
  • แบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10) ต่อสำนักงานประกันสังคม

  • ตรวจสอบบัญชีและงบการเงินประจำปี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)โดยปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือประกาศของสภาวิชาชีพบัญชี
  • ตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน โดยผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) โดยปฏิบัติงานตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
  • เสนอข้อสังเกต ต่อผู้บริหารเพื่อให้ทราบถึงจุดอ่อนของการควบคุมภายในทางบัญชีที่สำคัญ ที่อาจนำมาซึ่งการทุจริต รวมทั้งแจ้งให้ทราบ ถึงข้อผิดพลาดทางการบัญชี พร้อมข้อเสนอแนะ ทั้งนี้เพื่อให้งบการเงินแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมส่งผลให้การบริหารงานของกิจการ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ตรวจสอบเฉพาะกรณี ตามข้อตกลง
  • บริการ ยื่นงบการเงิน พร้อมจัดเตรียมรายละเอียดประกอบการยื่นงบการเงินตามที่กฎหมาย กำหนด ได้แก่ สบช.3, สำเนารายชื่อ ผู้ถือหุ้น (บอจ.5) นำส่ง ต่อกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์

1. ขั้นตอนการขอจดทะเบียน
บริษัทนิติบุคคลจะมีขั้นตอนในส่วนของการจดทะเบียนที่จะต้องดำเนินการที่คล้ายคลึงกันกับบริษัทส่วนบุคคลธรรมดาทั่วไป คือ

ส่วนที่ 1 ต้องเริ่มไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลก่อน โดยสามารถไปขอจดทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือจะใช้วิธีการจดทะเบียนออนไลน์ก็ได้เช่นเดียวกัน จากนั้นจึงไปจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจที่สำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์เช่นเดียวกัน ถ้าอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ไปดำเนินการจดทะเบียนได้ที่พาณิชย์จังหวัด

ส่วนที่ 2 การยื่นขอจดทะเบียนขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 60 วันนับจากวันที่ได้จดทะเบียนก่อตั้ง เป็นบริษัทนิติบุคคล และจำเป็นต้องยื่นทำการจดทะเบียนในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการจดทะเบียนภาษีทั้ง 2 อย่าง สามารถดำเนินการได้ที่กรมสรรพากร


2. การคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บริษัทนิติบุคคลจะมีวิธีการคำนวณที่ค่อนข้างจะละเอียดและซับซ้อนกว่าภาษีเงินได้ประเภทบริษัทส่วนบุคคล โดยวิธีการคำนวณเบื้องต้น คือ ทำการคำนวณหาในส่วนของรายรับและรายจ่ายตลอดทั้งปี (12 เดือน หรือ 6 เดือนในกรณีของบริษัท นิติบุคคลที่เพิ่งจะตั้งใหม่) ให้ออกมาเป็นผลกำไรประกอบการสุทธิ ซึ่งผลกำไรสุทธิที่ได้ออกมาจะต้องสามารถยื่นแสดงเป็นเอกสารในทาง บัญชีถึงที่มาที่ไปรายรับรายจ่ายได้ โดยมีวิธีการคิดอัตราภาษีดังนี้ บริษัทนิติบุคลที่มีทุนการจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีผลกำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาทจะต้องทำการเสียภาษี 15% มีผลกำไรสุทธิอยู่ ระหว่าง 1-3 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี 25% และถ้ามีกำไรที่มากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไปจะต้องเสียภาษีในอัตรา 30% เท่านั้น ส่วนบริษัทที่มี ทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท จะเสียภาษีจากผลกำไรของการประกอบการสุทธิอยู่ที่ 30% ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้วิธีการคำนวณจาก ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนแล้วจึงนำมายื่นชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยข้อมูลวิธีการคิดคำนวณภาษีทั้ง 2 แบบ สามารถดูเพิ่มเติมได้จากทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการคิดคำนวณภาษีทั้ง 2 แบบของบริษัทนิติบุคคลควรจะให้ฝ่ายบัญชีเป็นผู้คิดคำนวณให้หรือถ้าเป็นบริษัทที่เพิ่งจะ ก่อตั้งใหม่ยังไม่มีฝ่ายบัญชีก็ต้องทำการจ้างบริษัทที่รับทำบัญชีโดยด่วน เพื่อจะได้เข้ามาช่วยในเรื่องการดูแลทางด้านการเงินทั้งในส่วนของ รายรับรายจ่ายและเรื่องการเสียภาษีตั้งแต่เริ่มต้นของบริษัท ไม่ควรที่จะเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเองเพราะเนื่องจากมีความซับซ้อนมาก ในรายละเอียด อีกทั้งยังติดขัดในเรื่องของข้อกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทนิติบุคคลต้องมีนักบัญชีที่จบมาทางด้านนี้โดยตรงตามวุฒิการศึกษา เป็นผู้ดำเนินการด้วย


3. การยื่นภาษี
ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้บริษัทนิติบุคคลต้องทำการขอยื่นแบบภาษีปีละ 2 ครั้ง

ครั้งแรกเรียกกันว่าการยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ(ครึ่งปี) ซึ่งจะต้องยื่นภายใน 60 วันนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรก ของรอบรยะเวลาบัญชี โดยใช้เอกสาร ภ.ง.ด.51 เท่านั้นในการยื่นเรื่อง

ครั้งที่สองหรือที่เรียกว่าการยื่นภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบ(สิ้นปี) ต้องยื่นภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลา บัญชีในปีนั้น โดยแบบเอกสารที่ใช้ในการยื่นคือ ภ.ง.ด.50

ซึ่งในการยื่นทั้ง 2 ครั้งสามารถมาทำการยื่นด้วยตนเองหรือจะให้ตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจากบริษัทมาทำการยื่นแทนก็ได้ที่กรมสรรพากร ถ้าอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดสามารถยื่นได้ที่ที่ว่าการอำเภอที่บริษัทตั้งอยู่ นอกจากนี้ในปัจจุบันทั้ง ภ.ง.ด.51 และ ภ.ง.ด.50 สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้แล้วที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร

4. การชำระบัญชี
สถานที่ที่ใช้ชำระเงินภาษีนิติบุคคลถ้าเป็นในเขตกรุงเทพมหานครให้มาชำระได้ที่กรมสรรพากรหรือธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของประเทศไทย ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ไปชำระได้ที่สรรพากรที่ตั้งอยู่บนที่ว่าการอำเภอ หรือธนาคารพาณิชย์ของไทยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับที่ สำนักงานใหญ่ของทางบริษัทตั้งอยู่

เนื่องจากการจ่ายภาษีในส่วนของบริษัทนิติบุคคลเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นควรที่จะมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องบัญชีโดยเฉพาะ และมีใบอนุญาตอย่างถูกต้องเป็นผู้ดูแลให้ ส่วนผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจก็ควรรู้ไว้แค่ในส่วนของหลักการเบื้องต้นก็น่าจะพอ

การมีนักบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญอยู่ในบริษัทเปรียบเสมือนการมีเพชรน้ำดีไว้ในครอบครองเลยก็ว่าได้ เพราะความเชี่ยวชาญของนักบัญชี จะอาศัยช่องว่างทางกฎหมายที่สามารถพอจะยอมรับได้ทำการซิกแซกหาช่องทางช่วยให้บริษัทจ่ายภาษีที่น้อยลงมากกว่าเดิมจากอัตราปกติ ซึ่งควรต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่าการซิกแซกนี้ไม่ได้หมายถึงว่าจะไม่จ่ายค่าภาษีให้ประเทศชาติเลย แต่เป็นการจ่ายที่น้อยลงจากปกติตามที่ กฎหมายได้เปิดช่องเอาไว้ให้ไม่ได้เป็นการกระทำผิดกฎหมายแต่ประการใด และอย่าคิดที่จะไม่จ่ายภาษีเป็นอันขาดเพราะรับรองว่าสุดท้าย สรรพากรจะต้องตามตรวจเจอและจะมีบทลงโทษอย่างร้ายแรงตามมาในท้ายที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าเสียเลยที่ผู้ประกอบการจะต้องไป เสี่ยงอย่างแน่นอน

© 2017 nkpaccounting.com All Rights Reserved.